นายกญี่ปุ่นเยือนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เล็งเคาะวันปล่อยน้ำปนเปื้อน

เมื่อวานนี้ (20 ส.ค.) ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เดินทางเยือนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกุชิมะ ไดอิจิ เพื่อยืนยันจุดที่จะมีการวางแนวท่อ ที่จะใช้ในการปล่อยน้ำกัมมันตรังสีจากโรงงาน ซึ่งผ่านการบำบัดแล้ว ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก รวมถึงตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ

หลังจากตรวจสอบภายในโรงงาน นายคิชิดะได้พบกับนายโคบายาชิ โยชิมิตสึ ประธานบริษัทพลังงานไฟฟ้าโตเกียว หรือ เทปโก (TEPCO) ซึ่งให้บริการสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้ารายใหญ่ของประเทศ และเป็นเจ้าของกิจการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ

ญี่ปุ่นจัดสรรงบ รวบรวม “ต้นฉบับการ์ตูน” อนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติชาติ

ปลาใกล้โรงไฟฟ้าฟุกุชิมะ มีระดับกัมมันตรังสีเกินมาตรฐาน 180 เท่า

ญี่ปุ่นโชว์ความปลอดภัย “น้ำเสียฟุกุชิมะ” ไลฟ์สดชีวิตปลาในน้ำที่ผ่านการบำบัด

คิชิดะ เน้นย้ำกับทางเทปโกว่า จะต้องดำเนินการในทุกขั้นตอนอย่างเหมาะสม เพื่อรับประกันความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้มีการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ ในหมู่ประชาชน

หลังจากนั้น นายคิชิดะได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า ตนเองจะจะหารือกับสหกรณ์การประมงแห่งชาติ เพื่อทำความเข้าใจเรื่องแผนการปล่อยน้ำปนเปื้อนอย่างเร็วที่สุดในวันนี้ ก่อนจะมีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมนตรี เพื่อตัดสินใจเคาะวันที่แน่ชัดในการเริ่มดำเนินการ จากเดิมที่วางแผนไว้กว้าง ๆ ว่าจะเกิดขึ้นภายในเดือนนี้ ท่ามกลางกระแสต่อต้านทั้งจากผู้ประกอบการอาหารในประเทศ รวมถึงเพื่อนบ้านอย่าง จีนและเกาหลีใต้คำพูดจาก สล็อตออนไลน์

ความเคลื่อนไหวของนายกฯ ญี่ปุ่นมีขึ้น หลังจากที่เขาเพิ่งจะเสร็จสิ้นการประชุมสุดยอดไตรภาคีกับประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ และประธานาธิบดียุน ซอก-ยอล ของกาหลีใต้ ที่แคมป์ เดวิด ในสหรัฐฯ ซึ่งมีการหยิบยกประเด็นเรื่องความปลอดภัยของแผนปล่อยน้ำปนเปื้อนมาพูดคุยกันด้วย

สำหรับน้ำเสียที่จะปล่อยจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะลงสู่ทะเล คือ น้ำที่ใช้ในการหล่อเย็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นน้ำฝนผสมกับน้ำบาดาล แต่ผ่านการบำบัดเพื่อกำจัดสารกัมมันตรังสีส่วนใหญ่ออกแล้ว เหลือเพียงทริเทียม ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นใช้วิธีทำให้น้ำเสียเจือจาง เพื่อลดระดับทริเทียมให้เหลือประมาณ 1 ใน 7 ตามแนวทางความปลอดภัยสำหรับน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (WHO)

 นายกญี่ปุ่นเยือนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ เล็งเคาะวันปล่อยน้ำปนเปื้อน